การวิจัยด้านระบบรีเฟล็กซ์ ของ อีวาน ปัฟลอฟ

ปาฟลอฟได้อุทิศตนเพื่อวิชาสรีรวิทยาและประสาทวิทยาอย่างมากมาย งานส่วนใหญ่ของเขาเกี่ยวกับการวิจัยด้านพื้นอารมณ์แต่กำเนิด (temperament) , การวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม (classical conditioning) และกิริยารีเฟล็กซ์ (reflex actions)

เขาได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการย่อยอาหารซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี ค.ศ. 1904[5] การทดลองของเขาเกี่ยวกับการผ่าตัดเพื่อแยกส่วนของระบบย่อยอาหารในสัตว์ การตัดมัดประสาทแล้วสังเกตผลต่อทางเดินอาหาร และการเจาะรูจากภายนอกเข้าไปยังอวัยวะในทางเดินอาหารเพื่อศึกษาสิ่งที่อยู่ภายในอวัยวะนั้น การทดลองดังกล่าวเป็นพื้นฐานของงานวิจัยหลายชิ้นที่เกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร

งานวิจัยเกี่ยวกับกิริยารีเฟล็กซ์ โดยเฉพาะปฏิกิริยาต่อความเครียดและการเจ็บปวดอย่างไม่ตั้งใจ ปาฟลอฟได้นิยามพื้นอารมณ์แต่กำเนิด 4 ประเภทภายใต้การศึกษาในขณะนั้น ได้แก่ ซึมเชื่อง (phlegmatic) , อารมณ์เสียง่าย (choleric) , ร่าเริง (sanguine) , และเศร้าโศก (melancholic) ปาฟลอฟและนักวิจัยของเขาได้สังเกตและเริ่มศึกษาการตอบสนองทางธรรมชาติของร่างกายที่เรียกว่า "shutdown" เมื่อถูกกระตุ้นโดยความเครียดหรือความเจ็บปวดอย่างมหาศาล ที่เรียกว่า transmarginal inhibition (TMI) งานวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าบุคคลในแต่ละพื้นอารมณ์จะตอบสนองต่อสิ่งเร้าแบบเดียวกัน แต่แตกต่างจะใช้เวลาตอบสนองแตกต่างกัน เขากล่าวว่า "ความแตกต่างของพื้นฐานแต่กำเนิด .. คือระยะเวลาเร็วเท่าไรที่เขาถึงจุด shutdown และคนที่ถึงจุด shutdown เร็วโดยพื้นฐานจะมีระบบประสาทต่างชนิด" (that the most basic inherited difference. .. was how soon they reached this shutdown point and that the quick-to-shut-down have a fundamentally different type of nervous system.) [6]

คาร์ล จุง (Carl Jung) นักจิตวิทยาได้นำงานของปาฟลอฟเกี่ยวกับ TMI มาสานต่อ และนำพื้นอารมณ์แต่กำเนิดของมนุษย์มาเชื่อมกับการสังเกตชนิดการ shutdown ในสัตว์ เขาเชื่อว่าบุคคลที่สนใจแต่ตัวเองจะไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่า และถึง TMI เร็วกว่าคนที่สนใจบุคคลอื่น สาขาการวิจัยด้านนี้เรียกว่า highly sensitive persons

วิลเลียม ซาร์แกนท์และคนอื่นๆ ได้วิจัยต่อเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขทางจิตใจ เพื่อการปลูกฝังความจำและการล้างสมอง

ใกล้เคียง

อีวานเกเลียน มหาสงครามวันพิพากษา อีวาน ราเชล วูด อีวาน ปัฟลอฟ อีวาน ไซเซฟ อีวาน เปตรอฟสกี อีวานเกเลียน: 3.0+1.01 สามครั้งก่อน เมื่อเนิ่นนานมาแล้ว อีวานเกเลียน: 1.0 กำเนิดใหม่วันพิพากษา อีวานเกเลียน: 2.0 อุบัติการณ์วันล้างโลก อีวานเกเลียน: 3.0 You Can (Not) Redo อีวานเกเลียน: จุติภาค

แหล่งที่มา

WikiPedia: อีวาน ปัฟลอฟ http://psychclassics.yorku.ca/Pavlov/ http://wwwa.britannica.com/eb/article-5560 http://www.crystalinks.com/pavlov1.html http://www.ivanpavlov.com/ http://www.wulffmorgenthaler.com/strip.aspx?id=cd8... http://www.cshl.edu/PRats/ http://nobelprize.org/nobel_prizes/medicine/laurea... http://nobelprize.org/nobel_prizes/medicine/laurea... http://www.pbs.org/wgbh/aso/databank/entries/bhpav... http://www.cam-pavlov.narod.ru/index.html